วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ปัญหามลพิษทางเสียง

บทนำ


            ปัญหามลพิษทางเสียง นับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยเฉพาะตามเมืองขนาดใหญ่ หรือเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจัดเป็นศูนย์กลางด้านการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร และอื่นๆอีกมากมาย ในโลกปัจจุบันที่การพัฒนาทางเทคโนโลยีก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหามลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้เทคโนโลยีเช่นกัน จึงส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในปัจจุบันเสื่อมลง ทางคณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับมลภาละที่เป็นพิษ เพื่อไว้ศึกษาและนำไปปฏิบัติได้  โดยเนื้อหาสาระในเว็บไซด์จะเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงในรูปแบบต่าง รวมทั้งสาเหตุ  แหล่งกำเนิด  ผลกระทบที่เกิดขึ้น   และวิธีป้องกัน    ภาวะมลพิษทางเสียง (Noise Pollution )  หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์



วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง
2. เพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขมลพิษทางเสียง




ประโยชท์ที่ได้รับ


1. ทำให้ทราบถึงปัญหามลพิษทางเสียงอย่างชัดเจน

2. ทำให้ทราบแหล่งที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางเสียง

3. สามารถหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง



วิธีการศึกษา 

1. ศึกษาแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษทางเสียง เริ่มจาก
           1.1  การจราจร มาจากยานพาหนะประเภทต่างๆ เช่น รถไฟ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือหางยาว และเครื่องบิน เป็นต้น
           1.2   สถานประกอบการต่างๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
           1.3  ชุมชนและสถานบริการ ได้แก่ เสียงจากคนหรือเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และเสียงในย่านธุรกิจการค้า สถานบันเทิงเริงรมย์ เป็นต้น
2.  สัมภาษณ์ประชาชนบริเวณพื้นที่ศึกษา ถึงผลกระทบจากมลพิษทางเสียง

ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง
           1. ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
              - หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบล
              - หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
              - หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
           2. ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
           3. ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
           4. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
           5. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
           6. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี  

3.  กำหนดแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงและแนะนำแนวทางให้ประชาชนได้รับทราบ
       1. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีแหล่งกำเนิดเสียงดังควรใช้วัสดุป้องกันการได้ยินเสียงดัง เช่น เครื่องอุดหู เครื่องครอบหู เป็นต้น
       2. ให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านภาวะมลพิษทางเสียงแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
       3. สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางเสียง
       4. สร้างเครือข่ายตรวจสอบและเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษภายในชุมชน
       5.
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ถึงอันตรายจากภาวะมลพิษทางเสียง และร่วมมือกันป้องกันมิให้เกิดมลพิษทางเสียง








ผลการศึกษา  


จากการศึกษามลพิษทางเสียงพบว่าแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษทางเสียง เริ่มจาก
           1.1  การจราจร มาจากยานพาหนะประเภทต่างๆ เช่น รถไฟ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือหางยาว และเครื่องบิน เป็นต้น
           1.2   สถานประกอบการต่างๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
           1.3  ชุมชนและสถานบริการ ได้แก่ เสียงจากคนหรือเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และเสียงในย่านธุรกิจการค้า สถานบันเทิงเริงรมย์ เป็นต้น ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้พักอาศัยบริเวณแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษทางเสียง เช่น หอพักในซอยสดใส การจราจรริมถนนเลียบหาดบางแสน หอพักใกล้ๆกับสถานบันเทิง ผลจากการศึกษาพบว่าบุคคลเหล่านั้นได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย คือรบกวนการพักผ่อนนอนหลับหรือรบกวนการอ่านหนังสือ และในบางครั้งแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง ด้านการจราจรเช่น มีการขี่มอเตอร์ไซค์แข่งกันทำให้รู้สึกหวาดกลัวและรู้สึกไม่ปลอดภัยเสียงมอเตอร์ไซค์ที่ดังก็ทำให้ตกใจได้ 




ภาพเขตก่อสร้าง




ภาพการจราจร




ภาพสถานบันเทิง


=









สรุปผลการศึกษา


สาเหตุหลักของการเกิดมลพิษทางเสียง
       1. ปัญหาการจราจร เช่น การแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์
       2. ปัญหาสถานประกอบการต่างๆ เช่น การก่อสร้าง
       3. ปัญหาสถานบริการ เช่น ร้านเหล้า ผับ
                
ผลกระทบต่อบุคคลที่พักอาศัยบริเวณแหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง
       1. รบกวนสมาธิการอ่านหนังสือ
       2. รบกวนการพักผ่อนนอนหลับ
       3. รู้สึกหวาดกลัวและตกใจ
       4. รู้สึกรำคาญ

แนวทางป้องกัน
       1. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีแหล่งกำเนิดเสียงดังควรใช้วัสดุป้องกันการได้ยินเสียงดัง เช่น เครื่องอุดหู เครื่องครอบหู เป็นต้น
       2. ให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านภาวะมลพิษทางเสียงแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
       3. สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางเสียง
       4. สร้างเครือข่ายตรวจสอบและเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษภายในชุมชน
       5. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ถึงอันตรายจากภาวะมลพิษทางเสียง และร่วมมือกันป้องกันมิให้เกิดมลพิษทางเสียง



ข้อเสนอแนะ
      
       1. ควรศึกษามลพิษจากแหล่งอื่นๆเพิ่มเติม
       2. เมื่อทราบถึงปัญหาก็ควรจะหาแนวทางในการป้องกันแก้ไข




                                                                          จัดทำโดย

                                                นายสุรศักดิ์         หอมสนิท        52020554
                                                นางสาวเกศินี      ฉวีทอง           52021040
                                                นางสาวจิรัชญา   เพิ่งเกิด          52021044
                                                นางสาววริศรา     เสือทองปาน  52021094


เสนอ
ดร. ณรงค์   พลีรักษ์